ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อจิรภาส์ เพียรขุนทด จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงทีมงาน หน่วยงาน และสถาบันการศึกษาแนวร่วม ในฐานะภาควิชาการ เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว และได้จัดกิจกรรมหลากหลายขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 2564-2566 เพื่อค้นหาแนวทางในการจัดการกับความท้าทายข้างต้นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
กิจกรรมเหล่านั้น ได้แก่ การลงพื้นที่วิจัยเก็บข้อมูล การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการจัดอภิปรายกลุ่มย่อยเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยและระดมความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมต่อการพัฒนามาตรการและนโยบายในการคุ้มครองทางสังคมให้กับกลุ่มประชากรเปราะบาง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จนกระทั่งข้อมูลและข้อคิดเห็นเหล่านั้นได้ถูกรวบรวมออกมาเป็นข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเล่มนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงอันมีค่าสำหรับผู้อ่าน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบายการคุ้มครองทางสังคมที่ดีและครอบคลุมยิ่งขึ้นไปในอนาคต ซึ่งในท้ายที่สุดจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มประชากรเปราะบางของทั้งประเทศไทยโดยรวม
เนื้อหาในเล่ม
บทที่ 1 – การคุ้มครองทางสังคมคืออะไร
บทที่ 2 – เพราะเหตุใดนโยบายการคุ้มครองทางสังคมจึงมักพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนเปราะบาง
บทที่ 3 – ความท้าทายในการนำนโยบายการคุ้มครองทางสังคมไปสู่การปฏิบัติ มีอะไรบ้าง
บทที่ 4 - บทสรุป: การนำนโยบายการคุ้มครองทางสังคมไปสู่การปฏิบัติจะพัฒนาต่อไปในทิศทางใด
หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับภาษาไทย คณะผู้จัดทำจะได้จัดส่งให้กับกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของโครงการให้แล้วเสร็จต่อไป
และโปรดติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของกิจกรรมถัดไปภายใต้โครงการนี้ในปีนี้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ