ผู้เผยแพร่แอสเสท

บทความเดี่ยว

รูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ได้จากเวทีเสวนาเชิงลึก 7 เวทีใน 4 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีส่วนร่วม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และบุคลากรหรือพนักงานท้องถิ่น กลุ่มนักวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มผู้นำชุมชนหรือภาคประชาสังคมในจังหวัด

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

เวทีเสวนาเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เสนอความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ผลการศึกษาที่ได้สรุปอยู่ในหนังสือเล่มนี้มีข้อเสนอ ทางเลือก ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัด และแนวทางการเลือกตั้ง 5 รูปแบบ รวมไปถึงการเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย ความคิดเห็นที่แตกต่างหลายหลาย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในฐานะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแหล่งค้นคว้าต่อยอดสำหรับการพัฒนาการกระจายอำนาจในประเทศไทยได้ต่อไป

 

แนวทางที่ 1 – รูปแบบการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงและปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินแบบ 2 ชั้น

 

แนวทางที่ 2 – รูปแบบและแนวทางการใช้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงและลดอำนาจการบริหารราชการส่วนภูมิภาคลง โดยยังคงมีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะตัวแทนรัฐส่วนกลาง มีอำนาจอยู่ในขอบเขตจำกัด

 

แนวทางที่ 3 – รูปแบบและแนวทางการใช้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแทนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ ภารกิจ งบประมาณ และทรัพยากรการจัดทำบริการสาธารณะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

แนวทางที่ 4 – รูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีความพร้อม โดยทดลองเลือกตั้งในจังหวัดที่มีความพร้อมและเหมาะสม

 

แนวทางที่ 5 – รูปแบบและแนวทางให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งในรูปแบบใหม่และรักษาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมไว้

 

ท่านสามารถอ่านเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลได้ที่นี่

หากท่านสนใจรับเป็นรูปเล่ม กรุณาส่งอีเมลแจ้งความประสงค์มาได้ที่ Office.Thailand@kas.de

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ติดต่อทีมงาน

นภาจรี จิวะนันทประวัติ

Napajaree Jiwanantaprawat

ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการ

Napajaree.Jiwanantaprawat@kas.de +66 (0) 2 714 1207 +66 2 714 13 07

comment-portlet

ผู้เผยแพร่แอสเสท