สัมมนาออนไลน์
รายละเอียด
แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมซึ่งเป็นแนวคิดที่มองว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนนั้น มีบทบาทสำคัญต่อการ
จัดสรรแบ่งแยกอำนาจการปกครอง การสร้างความชอบธรรมในการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย และส่งเสริมหลักนิติธรรม จึงอาจกล่าวได้ว่า
องค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญและแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมเป็นองค์ความรู้หลักของระบบกฎหมาย
บริบททางสังคมและกฎหมายของประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงกระแสโลกาภิวัตน์ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางความคิดต่อแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม และต่อการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่คำถามพื้นฐานที่ว่า ในเวลานี้รัฐยังเป็นตัวแสดงเดียวที่สามารถกำหนดการมีอยู่ตลอดจนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือมีตัวแสดงหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทเช่นกัน
การสัมมนาครั้งนี้อยู่ภายใต้ชุดการสัมมนาที่ชื่อว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการสมานฉันท์ของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ต่อสังคมไทย จัดขึ้นโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (IDS) ร่วมกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ โดยจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00น. ผ่านโปรแกรม Zoom และจะดำเนินการสัมมนาเป็นภาษาไทย
ท่านสามารถเข้าร่วมการสัมมนาได้ผ่านลิงก์ด้านล่างนี้
https://us02web.zoom.us/j/89447872474?pwd=VHBpR3NSMUtMVU9weUxVa0xxb1F0dz09
ความท้าทายและกระแสแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ในปี2021
1. พัฒนาการทางความคิดของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมของไทย
โดย ดร. สติธร ธนานิธิโชติ จากสถาบันพระปกเกล้า
2. ประชานิยมและพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง
โดย ดร. บูฆอรี ยีหมะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3. บทบาทของภาคประชาสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปี 2021
โดย ดร. ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมและการจัดการการปกครองของไทย
โดย ผศ. เชิงชาญ จงสมชัย จากวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. อนาคตของวิสาหกิจเพื่อสังคมในรัฐธรรมนูญไทย
โดย ดร. ชาญณวุฒ ไชยรักษา จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6. ความท้าทายและกระแสแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ในปี2021
โดย ดร. วิเชียร ตันศิริคงคล จากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา