ผู้เผยแพร่แอสเสท

สัมมนา

ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

เสวนาวิชาการด้านการเสริมสร้างประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญปี 2560 ของประเทศไทยเป็นประเด็นที่มีการโต้เถียงอย่างต่อเนื่อง ความต้องการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 และการประท้วงในช่วงปี 2563-2564 ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการศึกษาที่ชี้ว่าจำเป็นต้องมีการลงประชามติทั้งหมดสามครั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญต่อการปูทางไปสู่แก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายละเอียด


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ถูกจัดทำขึ้นภายใต้รัฐบาลทหาร ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายแม้ว่าจะได้ผ่านกระบวนการประชามติแล้วก็ตาม การปฏิรูปรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นประเด็นหลักในการเลือกตั้งปี 2566 ซึ่งมีการแข่งขันอย่างดุเดือด และมีผู้มาออกมาใช้สิทธิ์เป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ และแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและฝ่ายก้าวหน้า ความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ถูกตอกย้ำในระหว่างการประท้วงครั้งใหญ่ในช่วงปี 2563-2564 อีกด้วย ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการทางการเมืองและกฎหมาย ซึ่งแม้ประชาชนไทยได้แสดงความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ผ่านการเลือกตั้งและการประท้วง แต่การที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะแปรเปลี่ยนข้อเรียกร้องทางการเมืองนั้นเป็นกฎหมายยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

ในเดือนเมษายน 2567 นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการการศึกษาการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีการลงประชามติสามครั้งเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนแสดงความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ อีกทั้งจะมีการแก้ไข พรบ. การออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 เพื่อทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนสามารถแสดงความต้องการและความคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การลงประชามติครั้งแรกจะถามว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องมีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หากคนส่วนใหญ่เห็นด้วย การลงประชามติครั้งที่สองจะถามว่ามาตรา 256 ควรแก้ไขหรือไม่ เพื่อเปิดทางให้กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หากได้รับการอนุมัติ หลังจากการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จสมบูรณ์ จะมีการลงประชามติครั้งที่สามเพื่อถามผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนว่าควรรับร่างนั้นหรือไม่ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบว่าควรแก้ไข พรบ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 เพื่อยกเลิกกฎ “เสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้น” (double majority) ที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนมากกว่า 50% ต้องเข้าร่วมการลงประชามติและเสียงข้างมากของผู้ลงคะแนนต้องอนุมัติรัฐธรรมนูญใหม่ การแก้ไข พรบ. ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมประชาธิปไตย

ด้วยเหตุผลข้างต้น สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย จะจัดสัมมนารูปแบบไฮบริดในหัวข้อ “ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเชิงนโยบาย

โครงการ

9:45 - 10:00 ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนและเข้าร่วมเสวนา - เตรียมเข้าซูม

10:00 - 10:20 กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงานเสวนาโดย

Dr. Céline-Agathe Caro ผู้อำนวยการ มูลนิธิ Konrad-Adenauer-Stiftung Thailand Office
คุณวิทวัส ชัยภาคภูมิ - เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กรรมการสภาสถาบันและเลขานุการ

10:20 - 10:40 การบรรยายพิเศษ “ปลดล็อกเงื่อนไขประชามติ สู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

10:40 - 12:00 การเสวนา “ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย”

วิทยากร
คุณนิกร จำนง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
คุณพงศ์เทพ เทพกาญจนา คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ 
คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล
ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า
คุณศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ
ดำเนินรายการโดย  คุณภูริภัทร์ เครือนพรัตน์ นักวิชาการประจำสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

12:00 - 12:20 ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถาม-ตอบ

12:20 - 12:30 สรุปงานเสวนาและกล่าวอำลา

แชร์หน้านี้

ผู้เผยแพร่แอสเสท

เพิ่มลงในปฏิทิน

แห่ง

สถาบันพระปกเกล้า

ติดต่อ

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ผู้จัดการโครงการ

Pii.Arporniem@kas.de +66 (0) 2 7141207-8

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ผู้เผยแพร่แอสเสท