ผู้เผยแพร่แอสเสท

ฟอรั่ม

ถอดบทเรียนวิกฤติ PM2.5 และอนาคตอากาศสะอาดของประเทศไทย

เวทีเสวนาสื่อในประเด็นนโยบายสาธารณะครั้งที่ 4 ปี 2023

ประเทศไทยเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ โดยฤดูไฟป่าและฝุ่นควันจะเริ่มขึ้นในกลางเดือนมกราคม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่น PM2.5 และเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงในกลางเดือนกุมภาพันธ์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อธิบายว่า PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็ง พวกมันมีขนาดเล็กจนสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ถึงปอด กระแสเลือด สร้างปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจและในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

รายละเอียด

PR Poster Dialogue Forum 4 Thai Version

จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ เพียงระยะเริ่มต้นของฤดูไฟป่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 15 ก.พ. มีจุดความร้อนเกิดขึ้น 18,988 จุดในภาคเหนือ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 118% จากปีก่อน และเมื่อเข้าสู่เดือนมีนาคม มลพิษทางอากาศเริ่มไต่ระดับขึ้นจนเกินขีดจำกัดความปลอดภัยต่อสุขภาพ ตั้งแต่หนึ่งถึงสิบเท่าขึ้นไป ระดับความเข้มข้นสูงสุดถูกบันทึกไว้ที่ 537 μg/m³ ในวันที่ 27 มีนาคม 2566 ที่อำเภอแม่สาย ชายแดนจังหวัดเชียงราย ซึ่งมากกว่าระดับมาตรฐานปลอดภัยที่ WHO แนะนำไว้ถึง 35 เท่า

 

เมื่อสิ้นสุดฤดูไฟป่า กรมควบคุมมลพิษระบุว่า ระดับความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 ในภาคเหนืออยู่ที่ 63 µg/m³ หรือเพิ่มขึ้น 110% จาก 30 µg/m³ ของปีที่แล้ว จำนวนวันที่มี PM2.5 เกินขีดจำกัดปลอดภัยอยู่ที่ 112 วัน หรือเพิ่มขึ้น 60% จาก 70 วันของปีที่แล้ว ในส่วนของภาพรวมทั้งภูมิภาค จุดความร้อนสะสมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอยู่ที่เกือบหนึ่งล้านจุด (992,718 จุด) โดยเมียนมาร์มีจุดความร้อนสะสมมากที่สุดถึง 413,041 จุด สปป.ลาว (254,734 จุด) ไทย (168,392 จุด) กัมพูชา (111,781 จุด) และเวียดนาม (44,770 จุด) ซึ่งจุดความร้อนของไทยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น 103% จากปีก่อน

 

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่า สาเหตุหรือแรงจูงใจเกือบทั้งหมดเกิดจากฝีมือมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากป่าและพื้นที่การเกษตรในป่าที่เกี่ยวพันกับการดำรงชีพในวิถีเกษตรของคนท้องถิ่นอย่างแยกไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นการเผาเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกในป่าเขา การกำจัดเศษซากพืชในไร่ การเปิดพื้นที่ป่าเพื่อการปศุสัตว์ การล่าสัตว์ ไปจนถึงการเก็บหาของป่า

 

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี สรุปสภาพปัญหาไว้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นแค่ปัญหา PM2.5 หรือไฟป่า แท้จริงแล้ว มันเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืนในพื้นที่และในภูมิภาค เป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเกือบทุกที่ในปัจจุบัน และจะดำเนินต่อไป หากไม่สามารถระบุสาเหตุหรือแรงผลักดันได้อย่างชัดเจน คำถามที่ดำรงอยู่ในเวลานี้ก็คือ ประเทศไทยสามารถค้นหาและระบุสาเหตุที่แท้จริงได้แล้วหรือไม่ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาไว้อย่างไรสำหรับฤดูกาลที่จะมาถึง

 

เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวทางในการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 เพื่ออากาศสะอาดร่วมกันในอนาคตในเวทีเสวนา Dialogue Forum 4 l Year 4: ถอดบทเรียนวิกฤติ PM2.5 และอนาคตอากาศสะอาดของประเทศไทย ในวันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-12.30 น. ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

โครงการ

10:00 น. ลงทะเบียน

10:25 น. แนะนำเวที

10:30 น. บรรยายนำ "ภาพรวมฝุ่น PM2.5 ในปี 2566 และผลกระทบ"

โดย คุณพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

10:40 น. เวทีเสวนา "ถอดบทเรียนฝุ่น PM2.5 และอนาคตอากาศสะอาดของประเทศไทย"

วิทยากร:

  • คุณนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน    ร่างกฏหมายว่าด้วยอากาศสะอาด และผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI)
  • รศ. ดร. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย (Thailand CAN)
  • คุณบัณรส บัวคลี่ ที่ปรึกษาฝ่ายข้อมูลและนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

 

ดำเนินรายการโดย คุณวิภาพร วัฒนวิทย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ Decode.plus และผู้ประกาศข่าว Thai PBS
 

12.00 น. ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถาม-ตอบ

12.30 น. สรุปและปิดเวที

ผู้เผยแพร่แอสเสท

เพิ่มลงในปฏิทิน

แห่ง

SEA Junction
Suite 408, Bangkok Art and Culture Centre, 939 Rama1 Road, Wangmai, Patumwan, Bangkok 10330,
10330 Bangkok
Thailand
Zur Webseite

การเดินทาง

ติดต่อ

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ผู้จัดการโครงการ

Pii.Arporniem@kas.de +66 (0) 2 7141207-8

ผู้เผยแพร่แอสเสท

องค์กรความร่วมมือ

Bangkok Tribune's Logo