ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายงานกิจกรรม

การเสวนาของสื่อ ในหัวข้อ Digital Disruption กับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

ของ Dr. Céline-Agathe Caro, ธสุธิดา เทศทอง

รายงานผลการจัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ครั้งแรกของ Bangkok Tribune โดยความร่วมมือของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 สำนักข่าว Bangkok Tribune ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์-ประเทศไทย ได้จัดเสวนาในรูปแบบการประชุมออนไลน์ในหัวข้อ “Digital Disruption กับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น เกี่ยวกับผลกระทบและความเกี่ยวพันของนวัตกรรมดิจิทัลที่มีต่อการสื่อสารมวลชน และบทบาทขององค์กรสื่อมวลชน ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาจากทั้งในแวดวงสื่อมวลชน ภาควิชาการ และ ภาคประชาสังคม

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

ในช่วงแรกของการเสวนา รศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของ Digital Disruption และผลกระทบต่อแวดวงสื่อสารมวลชน กล่าวคือ การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ทางดิจิตอลได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของการสื่อสารทางเดียวแบบเดิมๆ มาเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการสื่อสารแบบใหม่ที่เปลี่ยนให้คนทั่วไปก็สามารถเป็นผู้สื่อข่าวหรือนำเสนอการรายงานข่าวสดได้โดยตรงแบบทันที รวมถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคซึ่งเป็นผลจากการมีแพล็ทฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย สิ่งเหล่านี้ในแง่ลบก็ทำให้ต้องระมัดระวัง เรื่องการสร้างข่าวลวง อันเป็นรูปแบบหนึ่งของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมถึง การโจรกรรมข้อมูล และการผูกขาดการใช้ข้อมูล แต่ในแง่บวกก็มีมากเช่นกัน คือ ทำให้เราเห็นถึงการเคลื่อนที่ (mobility) และการแพร่ของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว  ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ที่เพิ่มโอกาสการเข้าถึง หรือการเป็นพื้นที่เรียกร้องและสะท้อนความต้องการของประชาชน ตัวอย่าง เช่น ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ที่จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าพลังเสียงเรียกร้องของประชาชนที่ออกมาแสดงความเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์จนเกิดเป็นกระแสสังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผู้มีอำนาจต้องออกมาหาทางแก้ไขปัญหา เป็นต้น ในกรณีนี้ จึงนำเข้าสู่คำถามสำคัญข้อหนึ่งของการเสวนา คือ  กระแสสังคมและเสียงเรียกร้องเหล่านี้จะมีพลังพอที่จะผลักดันให้ภาครัฐออกนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่

 

 

ช่วงที่สองของการเสวนานั้นเกี่ยวกับผลกระทบของ Digital Disruption ต่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่าง รศ. พิจิตรา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เพชร มโนปวิตร ผู้ร่วมก่อตั้ง ReReef และอดีตผู้อำนวยการ IUCN SE Asia  คุณสุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กรรมการ กสทช. และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact.org และดำเนินรายการโดยคุณอรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ บรรณาธิการเว็บไซต์ไทยพีบีเอสและ Decode ซึ่งพบว่าในยุคที่ทุกคนมีอำนาจสื่อในมือ นอกจากประชาชนและสื่อมวลชนแล้ว ภาคประชาสังคมและนักวิชาการก็เช่นเดียวกันที่หันมาใช้สื่อออนไลน์กันมากขึ้น ข้อมูลจึงยิ่งมากและมีความกระจัดกระจาย รวมถึงการมี Echo Chamber ที่ต่างคนต่างอยู่แต่ในฟองสบู่รับฟังแต่เสียงสะท้อนของตัวเอง การจะเรียกร้องต่อรองเชิงนโยบายต่อผู้มีอำนาจจึงต้องอาศัยตัวจุดชนวนที่อาจเป็นกระแสสังคมในช่วงนั้นๆ  และการสื่อสารที่ “ถูกจริตสังคม” รวมถึง จะต้องเข้าถึงคนหลากหลายกลุ่มเพื่อให้คนเข้าถึงโอกาสการพูดและไม่ลืมคนบางกลุ่ม อีกทั้งควรมีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถนำผลมาเผยแพร่ต่อประชาชน มียุทธศาสตร์ในการสื่อสารที่ดี มีประเด็นที่ชัดเจนเพื่อสร้างแรงกดดันให้มีการกำหนดนโยบาย นอกจากนี้เมื่อทุกคนต่างใช้สื่อ ซึ่งมีทั้งสื่อธรรมชาติและสื่อที่มีการชักนำ สื่อที่มีคุณภาพจึงยิ่งต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์ทางจริยธรรมและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย

 

ในวงเสวนาพบว่าสื่อหลักหรือสื่อสารมวลชนแบบเดิมยังคงได้รับความคาดหวังให้มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอยู่มาก เพราะสามารถเข้าถึงผู้กำหนดนโยบายได้ง่ายกว่าและมีความน่าเชื่อถือ จึงทำให้สื่อหลัก ที่แม้ว่าจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในจำนวนมากก็ตาม ยังคงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนยืนยันอย่างจริงจังให้กับข้อเรียกร้องต่างๆ จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิผลและรวดเร็วยิ่งขึ้น    การจะผลักดันนโยบายใดๆ นั้น จำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม และความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน  แม้สื่อหลักจะได้รับผลกระทบแรง จาก Digital Disruption แต่ก็ต้องปรับตัวให้อยู่รอด โดยการเน้นไปที่คุณภาพของเนื้อหาข่าวสาร การหาธุรกิจรูปแบบใหม่มารองรับ รวมทั้งการหาหุ้นส่วนทางธุรกิจมาร่วมด้วย นอกจากนี้ ในประเทศไทยเองยังมีปัญหาท้าทายรอการแก้ไขอีกหลายประเด็น เช่น ปัญหาการเข้าถึงกองทุนสื่อที่ยังไม่มีความคืบหน้า ปัญหาของประชาชนเกี่ยวกับทักษะการใช้สื่อ ความตระหนักและความเท่าทันสื่อรวมทั้ง ข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาถูก ดังนั้น ทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่จึงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการประสานงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม ร่วมกันต่อไป

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ติดต่อทีมงาน

ธสุธิดา เทศทอง

Thasuthida Thetthong

ผู้จัดการโครงการ

Thasuthida.Thetthong@kas.de +66 (0) 2 714 1207

comment-portlet

ผู้เผยแพร่แอสเสท