ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายงานกิจกรรม

การพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยผ่านแนวคิดเศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม

แนวคิดเศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรภาครัฐ

ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ มูลลนิธิก้าวหน้าได้จัดการอบรมในหัวข้อ "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรภาครัฐเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยผ่านแนวคิดเศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม" ทั้งหมด 3 ครั้ง ในจังหวัดนครปฐม เลย และตาก ในวันที่ 28 มิ.ย. 13 ก.ค. และ 18 ก.ค. พ.ศ. 2566 ตามลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นบุคลากรจากศาลากลางจังหวัด ตัวแทนจาก อบท. และตัวแทนจาก อบต. รวมทั้ง ผู้นำชุมชนและ อสม. เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการเศรษฐกิจตลาดเพื่อสังคมและการศึกษาแบบทวิภาคีของเยอรมนี และทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอบรมมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพและหนุมเสริมให้เกิดการสร้างกฎระเบียบระดับท้องถิ่นโดยเจ้าหน้าที่รัฐและผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาวิชาชีพและโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมของประชาชน พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

Workshop in Tak Province

มูลนิธิก้าวหน้า โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาในระดับชุมชนและธุรกิจจากรากฐานโดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น โดยมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการระบบ “เศรษฐกิจตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy)” ในประเทศเยอรมนีนั้นสามารถใช้เป็นแรงบันดาลใจให้กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมของไทย โดยระบบดังกล่าวมีหลักการคือการสร้างให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี โดยรัฐมีความเข้มแข็งและเป็นผู้กำหนดและรักษากฎเกณฑ์กติกาทางการค้า เพื่อไม่ให้เกิดอำนาจครอบครองตลาดโดยผู้ผลิตผู้ใดผู้หนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สร้างระเบียบในสังคมที่ดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สร้างให้ประชาชนเกิดความรับผิดชอบต่อตนเอง ซึ่งจะทำให้ขยายผลต่อเนื่องไปยังความรับผิดชอบต่อสังคม โดยถือหลักการที่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นจุดสมดุลระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี และการเจริญเติบโตทางสังคมที่แข็งแกร่ง ซึ่งหมายถึงดำเนินธุรกิจที่เพิ่มความยุติธรรมทางสังคม และมีความห่วงใยต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างธุรกิจที่คำนึงถึงสังคมก่อนเสมอ อีกทั้งหลักการเศรษฐกิจตลาดเพื่อสังคมยังมีความเกี่ยวพันกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความคุ้นเคยในสังคมไทยอยู่ก่อนแล้ว

ด้วยหลักการข้างต้น มูลนิธิก้าวหน้าจึงได้จัดการอบรมทั้งหมด 3 ครั้ง ในจังหวัดนครปฐม (28 มิ.ย. 2566) จังหวัดเลย (13 ก.ค. 2566) และจังหวัดตาก (18 ก.ค. 2566) โดยมีผู้เข้าร่วมคือบุคลากรจากศาลากลางจังหวัด ตัวแทนจาก อบท. และตัวแทนจาก อบต. รวมทั้ง ผู้นำชุมชนและ อสม. ในพื้นที่เป้าหมายตามช่วงวัยที่ต่าง ๆ กัน โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสามครั้งรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 110 คน

 

เนื้อหาของการจัดสัมมนาประกอบด้วย

1. แนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy)

“เศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม” เป็นการทำธุรกิจที่เน้นความเท่าเทียมทางสังคม ผ่านการมีการศึกษาที่ครอบคลุมความสนใจและการประกอบอาชีพในด้านต่าง ๆ การมีสวัสดิการสังคม และความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (รักษาสิ่งแวดล้อม) เป็นการค้าแบบเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ กติกาทางการค้า และเป็นผู้รักษากฎ เพื่อไม่ให้เกิดอำนาจการครอบครองตลาดโดยผู้ใดผู้หนึ่ง กล่าวโดยสรุป “เศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม” เป็นการทำธุรกิจที่ไม่เน้นเรื่อง “กำไร” ที่เป็นตัวเงินอย่างเดียว แต่ยังเน้นในเรื่อง คุณภาพชีวิต การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมในสังคม

 

2. แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

“แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2540 เป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นผลกระทบต่อคนไทยเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงทรงดำริ หลักการเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเพื่อประชาชนคนไทยในช่วงนั้นให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ หลักเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่มีไว้ให้เฉพาะเกษตรกรเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกสังคม ทรัพย์สิน แสดงว่าเราจะสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านไม่ได้สอนเราว่าไม่ให้ใช้จ่าย แต่ท่านสอนให้เราใช้จ่ายให้อยู่ในกรอบ ไม่เกินตัว

กล่าวโดยสรุป ก็คือ เราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตนเอง เราต้องพึ่งตัวเองได้ สามารถสร้างรายได้ให้ตนเองได้ เราต้องรู้ในเรื่องความพอเพียง ไม่ควรทำอะไรเกินตัว หลักเศรษฐกิจพอเพียงมี 2 เงื่อนไข และ 3 หลักการ

สองเงื่อนไข ประกอบด้วย “ความรู้” (ต้องหาความรู้ในเรื่องที่จะทำ) และ “คุณธรรม” (รับผิดชอบ มีความเป็นธรรม และซื่อสัตย์)

สามหลักการ ประกอบด้วย “ความพอประมาณ" "ความมีเหตุผล”และ “ความคุ้มกัน” ทั้งหมดนี้จะทำให้ชีวิตประจำวันของเรามั่นคง และอยู่อย่างมีความสุข

 

3. ผลกระทบการสภาวะโลกร้อน

อาจารย์พลภัทร ตันเจริญ ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านยอดดอย ได้นำเสนอในปประเด็น “เราจะเตรียมรับภาวะ “โลกร้อน” อย่างไร ขณะนี้ทั่วโลกต้องประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยมาก นี่คือผลจากภาวะ “โลกร้อน” และจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤตที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนได้ คำศัพท์ที่ควรรู้จัก คือ

“สภาวะเรือนกระจก” (Green House Effect) เกิดจากฝีมือของมนุษย์ผู้ทำให้เกิดก๊าซคอร์บอนไดอ๊อกไซด์ และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ยังเกิดจากการเผาไหม้ของฟอสซิลด้วย เช่น น้ำมัน ลอยไปคลอบบรรยากาศของโลกไว้ ขณะนี้มีการทำโครงการ “คาร์บอนเป็นศูนย์” (Carbon Zero หรือ Credit Carbon) โดยกำหนดให้โรงงานอุตสากรรม หรือธุรกิจใดที่สร้างคาร์บอนมาก ก็ต้องปลูกป่าเป็นการชดเชย เพื่อให้คาร์บอนเป็นศูนย์ ไม่เช่นนั้นก็ต้องเสียภาษีคาร์บอนแทน นอกจากนี้ เราควรรับประทานอาหารให้หมด ส่วนที่เหลือ ควรนำมาทำปุ๋ย

“ภาวะโลกร้อน” (Global warming) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจาก รังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างปกติจึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และทำให้สภาพอากาศของโลก เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิติบนโลก

สภาพอากาศแปรปรวน (Climate Change) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาวะโลกรวน” เมื่อเกิด  “ภาวะโลกร้อน” ขึ้น ก็จะเกิดอากาศแปรแรวน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขึ้น อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศา ก็จะเกิดสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนเกิดเป็น Extreme Weather

สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) คือ การเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง เกิดภัยธรรมชาติทั่วโลก เช่น น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย เกิดพายุรุนแรง น้ำท่วมใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว เกิดภัยแรง ไฟป่า เป็นต้น

อาจารย์พลภัทรได้กล่าว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร. 9 เน้นเรื่องการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในเรื่องเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ เช่น โคกหนองนาโมเดล เป็นโครงการที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ ขณะนี้หลาย ๆ ประเทศได้ให้ความสำคัญในเรื่องการลดภาวะโลกร้อน

ในการประชุม APEC ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) ซึ่งเป็นการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

B คือ Bioeconomy มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน

C คือ Circular เป็นการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว

G คือ Green Economy เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมิได้มุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน

กล่าวโดยสรุป คือ แก่นแท้ของเศรษฐกิจพอเพียง ก็ คือ “อัตตาหิอัตโนนาโถ” (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) เป็นการลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด ซึ่งเข้ากับหลัก 3 R คือ

Reduce การลด เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการปล่อยก๊าซคมาร์บอน ลดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น

Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ ค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการใช้สิ่งต่าง ๆ อีกครั้ง แทนการโยนทิ้งไป

Recycle เป็นการเปลี่ยนสิ่งที่เก่า และไร้ประโยชน์ ให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์

ก่อนจบการนำเสนอ อาจารย์พลภัทร ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเริ่มต้นจากครอบครัวของตนในการคัดแยกขยะ อันมีเป้าหมายทำตามหลัก 3 R ซึ่งจะทำให้ “ขยะเป็นสิ่งมีค่า”

 

4. การพัฒนาแบบยั่งยืน: ก้าวหน้า ก้าวไกล ก้าวอย่างมั่นคง ต้องช่วยสังคม

บาทหลวง ดร. รังสิพล เปลี่ยนพันธุ์ จบปริญญาเอก การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา Ph.D Educational จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ปัจจุบันท่านเป็นบาทหลวง และเป็นประธานชมรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อคนพิการ สังฆมณทลนครสวรรค์ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการ เพื่อสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ และส่งเสริมให้คนพิการได้รู้กฎหมายที่จำเป็น

วิทยากรได้กล่าวถึงหัวข้อที่จะนำเสนอในวันนี้คือ “ ก้าวหน้า..ก้าวไกล..ก้าวอย่างมั่นคง เพื่อช่วยสังคม โดยอยู่บนรากฐานของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลภาครัฐ” โดยมีที่มา และความหมายดังนี้

  • ก้าวหน้า คือ เจริญ, รุดหน้า, คืบหน้า, พัฒนา, เติบโต ฯ
  • ก้าวไกล คือ มุ่งหน้า, เจริญก้าวหน้า, เจริญรุ่งเรือง
  • ยั่งยืน   คือ ยาวนาน, อยู่นาน, คงทน, ถาวร

ในเรื่องนี้จะพูดเป็น 3 ประเด็น คือ (1) Organization (2) Pain Point และ (3) Social Impact

สิ่งที่เราจะต้องมาช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือสังคมได้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมกันขับเคลื่อนในช่วยเหลือประชาชน ในหัวข้อการตลาดเพื่อสังคม หรือก็คือกำไรเพื่อสังคม

วิทยากรให้ที่ประชุมดูคลิป “เพลงบ้านเกิดเมืองนอน” โดยวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งจัดทำขึ้น เมื่อดูจบแล้ว อาจารย์ได้ถามผู้เข้าสัมมนาว่าได้อะไรจากการดูคลิปนี้บ้าง ซึ่งผู้เข้าสัมมนาได้ให้ความคิดเห็นดังนี้

  • ได้แนวคิดในเรื่องความเจริญทางวัฒนธรรม
  • เป็นการรณรงค์ให้เด็กรุ่นใหม่รักความเป็นไทย
  • เด็กรุ่นใหม่มองเห็นความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
  • ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการรักชาติ

วิทยากรเสริมเพิ่มเติมว่าเป็นการเน้นเรื่องการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่มีความรักชาติ รักวัฒนธรรม และรักธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสร้าง Organization คือการสร้างให้เด็กคนหนึ่ง ซึ่งจะโตขึ้นมาเป็นผู้ที่จะนำองค์กรต่อๆ ไป ให้มีความโปร่งใส มีความยุติธรรม  ตัวอย่างที่วิทยากรได้ทำ คือการสร้างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อคนพิการ เพื่อให้ความรู้ ให้ความช่วยเหลือคนพิการ และสร้างให้เขามีอาชีพ สร้างให้เขาสามารถเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆ และให้พวกเขาสามารถออกไปช่วยสังคมได้  วิทยากรได้ตั้งคำถามกับผู้เข้าสัมมนา ในเรื่องการช่วยแก้ปัญหาสังคม 3 ข้อดังนี้

  1. ปัญหาสังคมที่คุณต้องการแก้ไข คืออะไร
  2. ใครคือคนที่คุณอยากแก้ปัญหาให้
  3. คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ปัญหาสังคมที่ว่านั้นบรรเทาลง หรือหมดไปแล้ว

ผู้เข้าสัมมนาได้ร่วมกันตอบตามความเห็นของแต่ละคนดังนี้

  • อยากแก้เรื่องความเลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งด้านการศึกษา, ที่อยู่อาศัย, สังคมของคนพิการ หรือสังคมความยากจน
  • ต้องการแก้ไขเรื่องอัตราค่าแรงงาน ให้กับทุกคนที่รับค่าแรง
  • ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิของผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  • อยากแก้ปัญหาให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ คนยากจนต่างๆ
  • อยากช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง อยากให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • อยากช่วยเหลือเด็กที่ย้ายถิ่น และเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง ทางครอบครัวหรือทางสังคม

เพื่อให้รู้ว่าปัญหาลดลงหรือไม่ ก็อาจทำด้วยการไปเยี่ยมเยียน หรือการสอบถามจากที่ผู้เข้าสัมมนาได้เสนอแนะมา จะเห็นว่าเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการศึกษา และปัญหาของเด็กไร้สัญชาติ เด็กที่ไร้ที่อยู่อาศัย เด็กที่อยู่บนเขา ซึ่งก็มีองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ที่แม่สอดที่จะคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ และทางวิทยากรก็ได้มีองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาให้กับเด็กๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน และยังมีมูลนิธิของพระเทพฯ ซึ่งพระองค์ท่านได้เคยเสด็จขึ้นไปบนเขา เพื่อเยี่ยมชาวเขาเผาปกาเกอะยอ ซึ่งแทบจะไม่มีใครขึ้นไปหาพวกเขาเลยเพราะทางไปลำบากมาก แต่พระองค์เสด็จไป และยังทรงตั้งโรงเรียนโดยให้ทหารตชด.เป็นครูสอนเด็กๆ เหล่านั้นด้วย วิทยากรได้กล่าวถึงแนวทางการทำให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน (CSR) ซึ่งการทำธุรกิจแบบ CSR คือ เป็นการทำธุรกิจที่ ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และรวมผู้ถือหุ้นด้วย เป็นการบริหารกิจการให้มีกำไร และนำกำไรบางส่วนมาช่วยงานสาธารณกุศล ทำให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน สามารถขยายกิจการให้เจริญเติบโตได้

แนวทางการทำ CSR เช่น (1) การลงทุนริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (2) การใช้แรงงานอย่างมี “จริยธรรม” (3) การส่งเสริมากรทำบุญเพื่อการกุศล

ผู้ที่จะเริ่มทำธุรกิจ CSR ต้องพิจารณาว่า กิจกรรมนั้นทำแล้วส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือไม่ มุ่งในการแก้ไขปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคม เช่น Strat Up แนะนำอาชีพ, แพลตฟอร์ม ไลฟ์สไตล์, สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ หรือองค์กรการกุศลต่างๆ เป็นต้น และสิ่งสุดท้าย วิทยากรได้ฝาก กฎ 4 จ.ซึ่งเป็นกฏแห่งความสำเร็จของมนุษย์ไว้ได้แก่

  • จิตสำนึกดี เริ่มจากตัวเราเองก่อน จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ และจงทำให้ก้าวหน้า
  • จิตอาสาดี คือช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมที่เราอยู่ โดยลงมือทำตามแผนที่วางไว้ ทำให้ก้าวไกล
  • จิตสาธารณะดี เราต้องแน่วแน่ มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ ทำให้มั่นคง
  • ใจทำ คือ ทำด้วยใจรัก และทบทวน ปรับปรุง และทำให้ยั่งยืน

 

5. การอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำน้ำยาล้างจาน”

ในช่วงเวลาที่เกิดโควิด ทุกครอบครัวต่างได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ การประหยัดรายจ่าย นับเป็นทางออกทางหนึ่งเพื่อช่วยให้อยู่รอดได้ “การทำน้ำยาล้างจาน” เป็นการช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนทางหนึ่ง

คุณบุญสายได้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ฝึกปฏิบัติการทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรและทีมงานได้เตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดให้ อีกทั้งยังเป็นผู้ให้คำแนะนำขณะฝึกปฏิบัติอย่างใกล้ชิด หลังการทำน้ำยาล้างจานแล้ว ทางมูลนิธิฯ ได้มอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน

 

ข้อเสนอเชิงนโยบาย

จากผลกรประเมินดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิคอนราด และมูลนิธิก้าวหน้า ใคร่ขอเสนอแนวทางปฏิบัติต่อ ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบท.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ควรบรรจุ การให้ความรู้ทางด้านแนวคิดเรื่อง “เศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม” แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐลงในแผนงานประจำปีด้วย
  2. ควรออกระเบียบท้องถิ่นที่ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนให้มีการทำธุรกิจอยู่ในแนวปฏิบัติ 3 อย่างหลัก ๆ คือ การรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความเป็นธรรมในสังคม และ ไม่ผูกขาด
  3. ควรส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพที่ยั่งยืน และส่งเสริมการมีสวัสดิการด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเข้าถึงองค์ความรู้และแหล่งทุนในการประกอบอาชีพแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. ควรมีการรณรงค์เรื่อง “การไม่ผูกขาดในการค้า” เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้เป็นจริง

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ติดต่อทีมงาน

ธสุธิดา เทศทอง

Thasuthida Thetthong

ผู้จัดการโครงการ

Thasuthida.Thetthong@kas.de +66 (0) 2 714 1207

comment-portlet

ผู้เผยแพร่แอสเสท