ผู้เผยแพร่แอสเสท

สิ่งพิมพ์

ผู้เผยแพร่แอสเสท

คู่มือการพัฒนาระบบราชการ 4.0

ภายใต้โครงการความร่วมมือ "Public Sector Management with Public Participation in Open Government in Thailand"

อีบุ๊คเล่มนี้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ศึกษา เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบราชการไทยผ่านนวัตกรรมและภาครัฐระบบเปิดให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

อ่านเอกสารสรุปประเด็นถกเถียงและข้อท้าทายหลักเกี่ยวกับการแก้ไข พรบ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติและประเด็นที่อาจเชื่อมโยงกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

รายงานฉบับนี้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ จากการสัมมนาสาธารณะ หัวข้อ "ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ได้แก่ ข้อคิดเห็นจากการบรรยายพิเศษและการเวทีเสวนาเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น เอกสารยังนำเสนอบทสรุปสำหรับผู้บริหารและได้สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นภายในงาน การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและสถาบันพระปกเกล้า โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประเทศไทย

บทความข่าวจากสำนักข่าวอิศราระหว่างเดือน มีนาคม ถึง มิถุนายน 2567

ชวนอ่านรายงานพิเศษข่าวความเคลื่อนไหวในประเด็นนโยบายสาธารณะ นิติรัฐ นิติธรรม และสิ่งแวดล้อม ผลิตโดยสำนักข่าวอิศรา

รายงานพิเศษเจาะลึกประเด็นนโยบายสาธารณะ นิติรัฐ นิติธรรม และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย สนับสนุนการผลิตโดยมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์

i.Law TH

Thailands Streben nach Demokratie und Rechtsstaatlichkeit

Versuche und Rückschläge seit der Regierungsbildung im Jahr 2023

Nach einem Jahrzehnt unter einer Militärjunta (2014-2019) und einer vom Militär dominierten Regierung (2019-2023) fanden in Thailand im Mai 2023 Parlamentswahlen statt. Die Wahlen deuteten eine klare Ablehnung von pro-militärischen und konservativen Gruppierungen an. Die Pheu-Thai-Partei (PTP), die bei den Wahlen den zweiten Platz belegte, bildete eine Regierungskoalition mit elf anderen Parteien. Darunter sind konservative und militärisch ausgerichtete Fraktionen wie die United Thai Nation (UTN) unter der Führung des ehemaligen Premierministers Prayuth Chan-ocha. General Prayuth war der Drahtzieher des Militärputsches 2014, durch den die damalige PTP-Regierung gestürzt wurde. In der Zwischenzeit bleibt der Wahlsieger von 2023, die progressive und reformorientierte Move-Forward-Partei (MFP), die landesweit 14 Millionen von rund 39 Millionen Stimmen erzielte, mit 151 Abgeordneten in der Opposition und stellt damit die größte Fraktion in der Nationalversammlung. Premierminister Srettha Thavisin und seine Minister haben wiederholt betont, dass Thailand demokratischen Grundsätzen verpflichtet ist. Jedoch stufte Freedom House im März 2024 Thailand in seinem Jahresbericht zu politischen und bürgerlichen Rechten mit 36 von 100 Punkten nur als "teilweise frei" ein.1Dieser Länderbericht stellt die Herausforderungen dar, denen sich Thailand seit der Regierungsbildung 2023 in seinem Streben nach Demokratie, Menschenrechten und Rechtsstaatlichkeit gegenübersieht, sowie die Bemühungen, diese Hürden zu bewältigen.

คู่มือการดำเนินคดีปกครองทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

นวัตกรรมกับหลักนิติธรรม

สำนักงานศาลปกครอง โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประเทศไทย ได้จัดทำ "คู่มือการดำเนินคดีปกครองทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน" เพื่อให้ทั้งประชาชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและใช้ประโยชน์จากระบบการจัดการคดีทางปกครองแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Admincourt ได้เต็มที่

รูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ได้จากเวทีเสวนาเชิงลึก 7 เวทีใน 4 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีส่วนร่วม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และบุคลากรหรือพนักงานท้องถิ่น กลุ่มนักวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มผู้นำชุมชนหรือภาคประชาสังคมในจังหวัด

หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน

รายงานฉบับเต็มการเดินทางเพื่อพบปะหารือกับภาคส่วนต่างๆ ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

รายงานฉบับเต็มการเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อพบปะหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในหลากหลายประเด็นของ ดร. ชเตฟาน เฮ็ค นายโยฮานเนส ชไตนิเกอร์ และนายกุนเธอร์ คริชเบาวม์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ความท้าทายของการนำนโยบายการคุ้มครองทางสังคมไปสู่การปฏิบัติ

ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการคุ้มครองกลุ่มคนเปราะบาง กรณีศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของวัตถุประสงค์การดำเนินงานของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาโดยตลอด หากว่ากันตามหลักเศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy) อันเป็นหลักการเฉพาะของประเทศเยอรมนีแล้วนั้น การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องคำนึงถึงความเสมอภาค การแข่งขันที่เป็นธรรม และการเอื้อโอกาสเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้ามั่งคั่งให้กับคนทุกคน ยิ่งในประชากรกลุ่มเปราะบาง รัฐจะต้องไม่ละเลยและควรปรับปรุงนโยบาย มาตรการ และบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มคนเหล่านี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อคุ้มครองและสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพให้แก่พวกเขา ที่สำคัญคือเพื่อรวมพวกเขาให้อยู่ในแผนการและกระบวนการของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

การจัดการปกครองท้องถิ่นดิจิทัล

เพิ่มพูนทักษะทางดิจิทัลและความเข้าใจในความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

นับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแพลตฟอร์มออนไลน์มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดและผลกระทบของโรคจะบรรเทาลง แต่กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องยังคงมีความจำเป็นและจะยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของประเทศในทุกมิติ โดยเฉพาะงานบริการสาธารณะที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องคอยพัฒนาปรับปรุงบริการและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ฝุ่น PM2.5 x ภาวะโลกเดือด

อาคาร กฎหมาย เมือง กับเรื่องของคนรุ่นต่อไป

ในแต่ละปี ประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือประสบกับปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของประชาชนอย่างมาก ภาวะความแห้งแล้งอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ฝุ่นพิษรุนแรงและกินเวลานานขึ้นกว่าเดิม ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมที่มองลึกถึงการจัดการเมืองเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสียงสะท้อนจากภาคประชาสังคมจึงอาจเป็นคำตอบที่จะช่วยทวงสิทธิในการหายใจรับอากาศบริสุทธิ์คืนสู่ประชาชนได้

ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายงานสถานการณ์ในประเทศไทย

รายงานโดยสังเขปเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยจากสำนักงานมูลนิธิฯ ในต่างประเทศ

Konrad-Adenauer-Stiftung มีสำนักงานตัวแทนใน 80 ประเทศในห้าทวีป พนักงานในต่างประเทศสามารถให้รายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและการพัฒนาในระยะยาวในประเทศของตนได้ และผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าไปดูการวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานและการประเมินผลเฉพาะของ Konrad-Adenauer-Stiftung เหล่านั้นใน "country reports" ได้

กิจกรรมที่จัด

Konrad-Adenauer-Stiftung พร้อมด้วยสถาบันการศึกษา ศูนย์การศึกษาและสำนักงานต่างประเทศจะมีการจัดกิจกรรมในหัวข้อต่าง ๆ นับพันกิจกรรมในแต่ละปี เราให้รายงานที่ทันสมัยและเป็นการเฉพาะแก่ท่านเกี่ยวกับการประชุม คอนเสิร์ต การประชุมใหญ่สัมมนา ฯลฯ ที่คัดสรรไว้ใน www.kas.de นอกเหนือจากเนื้อหาโดยสรุปและวัสดุอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น รูปภาพ ต้นฉบับสุนทรพจน์ แถบบันทึกวิดีทัศน์หรื�

ผู้เผยแพร่แอสเสท