ฟอรั่ม
รายละเอียด
แม้จะมีเสียงคัดค้านจากภาคประชาสังคมและนักวิชาการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) จากโครงการเขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขง 3 โครงการอย่างต่อเนื่อง หลังคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) อนุมัติในคราวเดียวกันในกลางปี พ.ศ. 2565 ให้ กฟผ. ดำเนินการทำสัญญาฯ กับผู้พัฒนาโครงการฯ ได้ รวมทั้งโครงการเขื่อนปากแบงที่คาดว่าจะมีผลกระทบกับประเทศ ไทยมากที่สุด ซึ่งได้มีการเซ็นสัญญาฯ ดังกล่าวไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
การเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าว นำมาซึ่งคำถามถึงผล กระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต รวมไปถึงดินแดนและ เขตแดนที่อาจเปลี่ยนไปจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขื่อนปากแบงที่ห่างจากประเทศไทยไปไม่ถึง 100 กิโลเมตร
นอกจากนี้ การดำเนินการจัดหาไฟฟ้าดังกล่าว ยังเกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความคุ้มค่าและ ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ณ เวลานี้ ซึ่งพบว่า มีพลังงานสำรองที่ล้นเกินอยู่ ในระบบมากเกือบถึง 20,000 MW
ประเด็นเหล่านี้ นำมาซึ่งคำถามถึงธรรมภิบาลในการพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบน แม่น้ำโขง และการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน โครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำข้ามพรมแดนที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังมีข้อกังขา และหา ข้อยุติไม่ได้จนถึงขณะนี้
เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียนเชิญท่านที่สนใจในประเด็น ดังกล่าวร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความ เข้าใจสถานการณ์และค้นหาแนวทางจัดการความท้าทายนี้ร่วมกันในเวทีเสวนา Dialogue Forum 2 | Year 5: เขื่อนปากแบง ธรรมภิบาลเขื่อนแม่น้ำโขง และพลังงานไฟฟ้า ของประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 12.30-15.00 น. ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
กำหนดการ
12.30 น. ลงทะเบียน
12.50 น. แนะนาเวที
1.00 น. Overview: Power Development Plan (PDP 2024) และสัดส่วนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
รศ. ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ SDG Move
1.10 น. Forum Discussion: เขื่อนปากแบง ธรรมภิบาลเขื่อนแม่น้ำโขง และพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
- ดร.วินัย วังพิมูล
ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
-
ดร.พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
-
คุณปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
-
คุณธัญญาภรณ์ สุรภักดี หัวหน้าโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่าน
พลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย
-
คุณนิวัฒน์ ร้อยแก้ว (ครูตี๋) ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของและผู้รับรางวัล 2022 Goldman Environmental Prize
ผู้ดำเนินรายการ:
คุณอรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ สื่อมวลชนอิสระ