ผู้เผยแพร่แอสเสท

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

Empowering Public Sector with Generative AI: Knowledge, Skills, and Ethics

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของบุคลากรภาครัฐในการให้บริการสาธารณะด้วยปัญญาประดิษฐ์

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

รายละเอียด

บุคลากรของภาครัฐในประเทศไทยเป็นจำนวนมากยังต้องการเพิ่มความรู้และพัฒนาศักยภาพและความพร้อมทางการบริหารตามแนวทางของการเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถอำนวยความสะดวกเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองโดยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดและได้รับการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงต่าง ๆ  ดังนั้น บุคลากรภาครัฐทั้งในหน่วยราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจหลักการวิธีการใช้งาน และจริยธรรมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างมีประสิทธิผลและมั่นคงปลอดภัย

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านปัญญาประดิษฐ์ของบุคลากรภาครัฐทั้งในหน่วยราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากหน่วยราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีความใกล้ชิด เข้าถึง และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการให้บริการประชาชนในชุมชนท้องถิ่น  วิทยาลัยฯ และมูลนิธิฯ จึงริเริ่มโครงการ “การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะด้วยปัญญาประดิษฐ์” ขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพและเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิผลและมั่นคงปลอดภัย

โครงการ

08.00-08.30 ลงทะเบียน

08.30-09.00 กล่าวเปิดงาน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย

09.00-09.30 กิจกรรมแนะนำตัวและสะท้อนความคาดหวัง โดย ผศ. ดร.ศักดิ์สุริยา ไตรยราช

09.30-10.30 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “ความรู้ทั่วไปและความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารภาครัฐ” โดย ผศ. ดร.อนุชา โสมาบุตร และ ผศ. ดร.กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

  • ความรู้ทั่วไป แนวคิด เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเจเนอเรทีฟเอไอ
  • กรณีศึกษาการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ที่ประสบความสำเร็จในภาครัฐ

10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-11.30 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “เครื่องมือเจเนอเรทีฟเอไอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน” โดย ผศ. ดร.อนุชา โสมาบุตร และ ผศ. ดร.กฤษดา ประชุมราศรี

  • แนะนำเครื่องมือเจเนอเรทีฟเอไอที่ได้รับความนิยม
  • แนะนำการใช้งานเครื่องเจเนอเรทีฟเอไอในชีวิตประจำวัน

11.30-12.00 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้งานเจเนอเรทีฟเอไอ” โดย ผศ. ดร.กฤษดา ประชุมราศรี และ ดร.รสิตา ดารศี

  • ข้อควรคำนึงด้านจริยธรรม: การใช้เจเนอเรทีฟเอไออย่างมีความรับผิดชอบ
  • มาตรการด้านความปลอดภัย: การคุ้มครองข้อมูลและความปลอดภัย

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.45 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การทดลองใช้งานเจเนอเรทีฟเอไอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน” โดย ทีมวิทยากร

  • การสาธิตวิธีการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ
  • การลองปฏิบัติ
  • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและผลงาน

14.45-15.00 พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-16.00 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “กลยุทธ์การดำเนินการและขยายผลการประยุกต์ใช้เจเนอเรทีฟเอไอในองค์กร” โดย ทีมวิทยากร

  • การระดมสมองเพื่อการพัฒนากลยุทธ์เพื่อการประยุกต์ใช้เจเนอเรทีฟเอไอที่ประสบความสำเร็จ
  • การนำเสนอของกลุ่ม
  • กิจกรรมถามตอบ

16.00-16.30 พิธีปิด กล่าวปิด มอบประกาศนียบัตร และถ่ายภาพหมู่

ผู้เผยแพร่แอสเสท

เพิ่มลงในปฏิทิน

แห่ง

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 หมู่ 6 ถนนมิตรภาพ,
จ. ขอนแก่น
ประเทศไทย
Zur Webseite

การเดินทาง

ติดต่อ

อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล

Orapan Suwanwattanakul

ผู้จัดการโครงการ

Orapan.Suwanwattanakul@kas.de +66 (0) 2 714 1207 +66 2 714 1307

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ผู้เผยแพร่แอสเสท

องค์กรความร่วมมือ

New Logo of Co-partner, COLA-KKU