ผู้เผยแพร่แอสเสท

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

My Better Country Hackathon #13 Road Hero: Collaboration for Road Safety

การประชุมสรุปกิจกรรมเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือสำนักงาน ก.พ.ร. ขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐยกระดับไปสู่การเป็นภาครัฐระบบเปิดมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบราชการในหลากหลายรูปแบบ และได้นำแนวคิดการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ของ International Association for Public Participation (IAP2) มาพัฒนาเป็นเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเป็นการประเมินตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมที่สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับช่องทางหรือกลไกในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

รายละเอียด

หนึ่งในกิจกรรมที่สำนักงานก.พ.ร. ดำเนินเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวคือการจัดเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศจากภาคประชาชน ภายใต้ชื่อ MY BETTER COUNTRY HACKATHON ซึ่งปัจจุบันจัดมาแล้ว 12 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน โดยได้แนวทาง/ต้นแบบการพัฒนางานบริการภาครัฐ 73 แนวทาง/ต้นแบบ และได้นำไปขับเคลื่อนร่วมกับส่วนราชการแล้ว 48 ข้อเสนอ เช่น การบริหารจัดการป่าไม้ด้วยเซนเซอร์ติดตามสภาพป่าร่วมกับกรมป่าไม้ การยกระดับการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตลอดจน การพัฒนา chatbot แจ้งเบาะแสยาเสพติดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นต้น

 

ในปี 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ จัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 12 ในหัวข้อ “ส่งเสียง ออกไอเดีย ปรับโฉมบริการภาครัฐให้ตอบโจทย์ตรงใจ” โดยมีพันธมิตรซึ่งเป็นเจ้าของโจทย์ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมกิจการผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมการเปิดให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นในการพัฒนาระบบราชการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) Empowering Older Persons เสริมพลังคนวัยเก๋า เพื่อให้รู้ทันสื่อ เข้าถึงเทคโนโลยี หรือการพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง 2) Social Welfare for All การเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐของคนแต่ละช่วงวัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และ 3) Government Hotline and Website 1111 ยกระดับสายด่วนและเว็บไซต์ 1111 รับเรื่องร้องเรียนและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมในวงการ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ภาคเอกชนจากทั่วประเทศ และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ กว่า 80 คน ใช้เวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง โดยได้แนวทาง/ต้นแบบการพัฒนางานบริการภาครัฐ 6 ข้อเสนอที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกับพันธมิตรทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) การพัฒนาแพลตฟอร์มแบบ offline และ online เพื่อให้เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม 2) การให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้สูงอายุ เพื่อ Reskill และ Upskill ตนเอง 3) การพัฒนาการให้บริการผู้พิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) 4) เผยแพร่ข้อมูลกรณีตัวอย่างการแก้ไขปัญหาเด็กได้รับความรุนแรงในครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความไว้วางใจต่อภาครัฐ 5) การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการกรอกข้อมูลเท่าที่จำเป็น และไม่ต้องยืนยันตัวตนหลายรอบ และ 6) การนำ AI เข้ามาใช้ ในการคัดกรองประเภท ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล

 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนภาครัฐไทยไปสู่การเป็นภาครัฐแบบเปิดเพิ่มมากขึ้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงจะจัดให้มีเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศจากภาคประชาชนอีกครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นในการพัฒนาระบบราชการที่อยู่ในความสนใจของสังคม ผ่านกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 13 โดยคาดหวังว่ากิจกรรมข้างต้นจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ สู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อันจะเกิดผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในภาครัฐเพิ่มมากขึ้น โดยในปีนี้จะมุ่งประเด็นหารือไปที่การพัฒนานโยบายเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่งของประเทศไทยอันเนื่องมาจากตัวเลขผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนสูงในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน กิจกรรมนี้จะประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้งกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบในนโยบายดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมประเด็นระดมความเห็น จากนั้นจะเป็นกิจกรรมระดมความคิดเห็นซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของโครงการที่จะรวมเอาผู้เข้าร่วมกลุ่มเป้าหมายและภาครัฐเข้าไว้ด้วยกันเพื่อคิดและนำเสนอแนวทางและวิธีการที่น่าจะเป็นไปได้ต่อการกำหนดและดำเนินนโยบาย หลังจากนั้นจะเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปข้อมูลและข้อคิดเห็นที่ได้จากกิจกรรมระดมความคิดเห็น เพื่อนำมาพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและยื่นต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ได้รับไปปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นได้จริงต่อไป ทั้งนี้ ทางสำนักงานก.พ.ร. จะได้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และรายงานสรุปขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวนี้ด้วย

 

งานประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งสุดท้าย เพื่อสรุปกิจกรรม และร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย จะจัดขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ตามกำหนดการดังนี้

โครงการ

13:30 - 13:45 เปิดการประชุม

โดย คุณอารีพันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการสำนักงานก.พ.ร.

13:45 - 14:10 นำเสนอความเห็นและแนวนโยบายต้นแบบที่ได้จากวัน Hackathon

14:10 - 16:30 แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย

นำการหารือโดยที่ปรึกษาทางวิชาการจากหน่วยงานในความร่วมมือ ได้แก่

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
  • สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
  • กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กรุงเทพมหานคร
  • คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

ผู้เผยแพร่แอสเสท

เพิ่มลงในปฏิทิน

แห่ง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงานก.พ.ร.)
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
ติดต่อ

อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล

Orapan Suwanwattanakul

ผู้จัดการโครงการ

Orapan.Suwanwattanakul@kas.de +66 (0) 2 714 1207 +66 2 714 1307

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ผู้เผยแพร่แอสเสท

องค์กรความร่วมมือ

OPDC