ฟอรั่ม
รายละเอียด
COP29 (การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอา กาศ สมัยที่ 29, UNFCCC COP 29) ก่อให้เกิดความขัดแย้งนับตั้งแต่วันแรกที่มีการประชุม โดยเหตุผลประการแรก เนื่องมาจากสถานที่จัดการประชุมตั้งอยู่ในประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับที่ 18 ของโลก และผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับที่ 24
ประการที่สอง การประชุมนี้ได้รับการคาดหวังอย่างสูงตั้งแต่วันแรกว่า รัฐภาคีฯ จะสามารถตกลง กันได้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนหรือหาสิ่งทดแทน “การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate Finance) ซึ่งยังคงมีความคลุมเครือนับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นใน COP15 ในปี 2552 ความพยายามทางการเงินครั้งใหม่นี้ทำให้การประชุม COP29 นี้ถูกขนานนามว่าเป็น “COP ทาง การเงิน”
สิ่งที่เรียกว่า New Collective Quantified Goal on Climate Finance (NCQG) มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยปรับกรอบการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกำหนดครั้งแรกไว้ที่ประมาณ100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีตามคำสัญญาจากประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อสนับสนุนการดำเนิน การด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากภัยพิบัติด้านสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้น อย่างเข้มข้นมากขึ้น ความต้องการเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศจึงเพิ่มขึ้นห้าเท่าหรือมากกว่านั้น หรืออย่างน้อย 500 พันล้านถึงหนึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
และเหตุผลสำคัญประการสุดท้ายคือสิ่งที่เรียกว่า “การต่อสู้เรื่องพลังงานฟอสซิล” ซึ่งประเทศ ต่างๆ ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับสิ่งที่ตกลงร่วมกันไปในการประชุม COP28 โดยเฉพาะเรื่อง “การ เปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิล”
ความท้าทายทั้งหมดนี้กำลังนำโลกไปสู่ความท้าทายที่สำคัญคือ ประเด็นความยุติธรรมด้าน สภาพภูมิอากาศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายและผู้สนับสนุนความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศกำลัง พยายามทำข้อตกลงกันในเรื่องนี้ในทุกมิติท่ามกลางความแตกต่างทั้งหมดที่พวกเขามี
ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของผลการประชุมฯ ที่มีความหมายต่ออนาคตและประชากรโลก รวมทั้ง ประชาชนในประเทศไทย เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียน เชิญท่านที่สนใจในประเด็นดังกล่าว ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจความท้าทายและค้นหาแนวทางสู่อนาคตร่วมกันในซีรีย์เวทีเสวนา Dialogue Forum 3 l Year 5: Post COP29 และเส้นทางสู่อนาคต (29 พฤศจิกายน, 10.00-12.30 น.) ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
กรุณายืนยันการเข้าร่วมงานเสวนาฯ ของท่านล่วงหน้า@
https://forms.gle/FG6JiqWZBsdMgx1T8
กำหนดการ
10.00 น. ลงทะเบียน
10.20 น. แนะนำเวที
10.25 น. Overview: ผลการประชุม COP29 และความท้าทาย ต่อนโยบายโลกร้อนของประเทศไทย
รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales LAB by MQDC) และผู้เชี่ยวชาญ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change)
10.40 น. Forum Discussion: Post COP29 และเส้นทางสู่อนาคต
วิทยากร:
- ผู้แทนกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, TDRI
- ผศ.ดร. ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.
- ดร. ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์กฏหมายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
คุณศนิวาร บัวบาน สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน และกรรมาธิการ และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัย ธรรมชาติและสาธารณภัย
ผู้ดำเนินรายการ:
คุณอรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ สื่อมวลชนอิสระ