ผู้เผยแพร่แอสเสท

ฟอรั่ม

วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28

เวทีเสวนาสื่อในประเด็นนโยบายสาธารณะครั้งที่ 5 ปี 2023

เป้าหมายในการรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่เกินขีดจำกัดที่ 1.5 องศาฯ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกประเทศเพิ่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 43% ของระดับการปล่อยในปี 2019 ให้สำเร็จภายในปี 2030 แม้ว่าการเจรจาในอดีตจะประสบความสำเร็จในหลายประเด็น แต่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งและจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศ งานเวทีเสวนาสื่อในประเด็นนโยบายสาธารณะครั้งที่ 5 ปี 2023 ซึ่งจัดโดย Bangkok Tribune ขอเชิญท่านมาร่วมฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและมองประเด็นที่จะถูกนำมาถกเถียงและข้อท้าทายในการเจรจา COP28 ที่จะจัดขึ้นที่ดูไบในปีนี้

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

รายละเอียด

นับตั้งแต่ประชาคมโลกก้าวเข้าสู่ทศวรรษแห่งความท้าทายในการแก้ปัญหาโลกร้อนระยะ 10 ปีแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2564-2573 (2021-2030) โดยมีการประชุมเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP26 และ COP27 ที่เมืองกลาสโกล์ว ประเทศอังกฤษ และประเทศอียิบต์ ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โลกกำลังก้าวสู่บททดสอบที่หนักหนาสาหัสเนื่องจากความไม่ลงรอยในแนวทางแก้ปัญหาของประเทศสมาชิกในการเจรจาตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนในเวทีดังกล่าว

 

เพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่จะรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่เกินขีดจำกัดที่ 1.5 องศาฯ ทุกประเทศต้องร่วมมือช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 43% ของระดับการปล่อยในปี 2019 แต่ข้อมูลจาก World Resources Institute (WRI) กลับพบว่า ความพยายามในการช่วยกันลดก๊าซฯ ผ่านการดำเนินงาน 'การมีส่วนร่วม (ลดก๊าซ) ที่ประเทศกำหนด' (NDCs) ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โลกจะสามารถลดก๊าซฯ ได้เพียง 7% เท่านั้น

 

นอกจากนั้น ทางสถาบัน WRI กลับพบว่า  การให้เงินอุดหนุนการใช้พลังงานฟอสซิลกลับพุ่งสูงถึงกว่า US$7 ล้านล้านในปีที่ผ่านมา

 

แม้จะมีความสำเร็จในการเจรจาในเบื้องต้นใน COP27 ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงในการจัดทำ Global Stocktake การเตรียมจัดตั้งทุนสำหรับ Loss and Damage หรือการเพิ่มเงินสนับสนุนการปรับตัวฯ (Adaptation) ก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นความท้าทายในการเจรจาที่จะมาถึงใน COP28 ที่ประเทศดูไบ

 

เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นและเส้นทางในอนาคตในการแก้ปัญหาและการรับมือโลกร้อนใน ซีรีย์เวทีเสวนา Dialogue Forum 5&6 l Year 4: วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28 และเส้นทางสู่อนาคต ในวันที่ 28 พฤศจิกายน และวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00-12.30 น. ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

 

โครงการ

10:00 น. ลงทะเบียน

10:20 น. แนะนำเวที

10:25 น. บรรยายนำ "ประเด็นท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อนในทศวรรษ 2030 และความหวังในการปรับตัวและการยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา MQDC และผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต

10:40 น. เวทีเสวนา "บทวิเคราะห์การเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28 และจุดยืนของประเทศไทย"

วิทยากร:

  • คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และผู้ประสานงานเครือข่าย Thai Climate Justice for All (TCJA)
  • คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย

 

ดำเนินรายการโดย คุณวิภาพร วัฒนวิทย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ Decode.plus และผู้ประกาศข่าว Thai PBS

12:00 น. ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถาม-ตอบ

12.30 น. สรุปและปิดเวที

ผู้เผยแพร่แอสเสท

เพิ่มลงในปฏิทิน

แห่ง

SEA Junction
Suite 408, Bangkok Art and Culture Centre, 939 Rama1 Road, Wangmai, Patumwan, Bangkok 10330,
10330 Bangkok
Thailand
Zur Webseite

การเดินทาง

ติดต่อ

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ภี อาภรณ์เอี่ยม

ผู้จัดการโครงการ

Pii.Arporniem@kas.de +66 (0) 2 7141207-8

ผู้เผยแพร่แอสเสท

องค์กรความร่วมมือ

Bangkok Tribune's Logo