ฟอรั่ม
รายละเอียด
ด้วยเหตุเหล่านี้ ภาคประชาสังคมจึงร่วมกันขับเคลื่อนอย่างแข็งขันตลอดมาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในหลายมิติ ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยหวังที่จะเห็นรัฐบาลใหม่นำเอาปัญหาฝุ่น PM2.5 ขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติเพื่อผลักดันนโยบายแก้ไขอย่างจริงจัง ความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและกลไกทางรัฐสภาผ่านการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะสามารถหาหนทางจัดการกับข้อท้าทายนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ความเห็นและมุมมองต่อการจัดการจากเยาวชนกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งจะเป็นผู้ใช้ชีวิตอยู่ต่อไปก็ไม่ควรถูกละเลย และควรได้รับการรับฟังเพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายด้วยเช่นกัน
กำหนดการ
11:00 ลงทะเบียนและรับเอกสาร
11:00 เป็นต้นไป นิทรรศการ "Interactive Poster Exhibitions" ชวนคิดและติดตามปัญหาฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
15:00-15:20 กล่าวต้อนรับ
- คุณธนิต ชุมแสง ประธานกรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา
- ดร. เซลีน-อแก็ธ คาโร ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย หรือตัวแทน
15:20-16:30 เวทีเสวนาสาธารณะ "ฝุ่นควันxภาวะโลกเดือด อาคาร.กฏหมาย.เมือง. กับเรื่องของคนรุ่นต่อไป"
- คุณสมภพ ประทุม ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ในหัวข้อ “การเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศโดยกลุ่มเยาวชนและความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา เมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป"
- คุณโอบเอื้อ กันธิยะ สถาปนิก วิ่งเล่นสตูดิโอ และ คุณชนกนันท์ นันตะวัน นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม สม-ดุลเชียงใหม่ ในหัวข้อ “นักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์ของเชียงใหม่: ประสบการณ์และแรงบันดาลใจต่อการมีส่วนร่วมในอนาคตของเยาวชน”
- ดร. ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์ และ ดร. จันทร์จิรา สุขไหว นักวิจัยเรื่องเมือง ศูนย์อยู่ดี สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ “เมืองที่หายใจได้สำหรับคนรุ่นต่อไป”