ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายงานกิจกรรม

อิทธิพลของรัฐธรรมนูญเยอรมันต่อการร่างรัฐธรรมนูญไทย

เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ 30 ปีการทะลายกำแพงเบอร์ลิน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานงานสัมมนาวิชาการ ซึ่งจัดโดยสมาคมไทย-เยอรมัน ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย มูลนิธิธรรมาภิบาลแห่งเอเชีย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 70 ปีแห่งการก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และวาระครบรอบ 30 ปีของการทะลายกำแพงเบอร์ลิน

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทราเทพยวดีฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชดำรัสเปิดงานสัมมนาวิชาการ โดยทรงกล่าวถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างประเทศไทยและประเทศเยอรมนีด้วย

ในงานสัมมนานี้ ทางกลุ่มผู้จัดงานได้เรียนเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญไทยหลายท่านขึ้นบรรยายและอภิปรายให้ความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นมุมมองเปรียบเทียบในหลากหลายมิติเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญเยอรมัน หรือที่เรียกว่า “กฎหมายพื้นฐาน” ต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญไทย ดังเป็นที่รับรู้ทั่วกันว่ารัฐธรรมนูญเยอรมันนั้นเป็นต้นแบบหลักของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปีพ.ศ. 2540 รวมทั้งได้อธิบายให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นความแตกต่างทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาของทั้งสองประเทศอันมีผลต่อลักษณะของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันด้วย

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ติดต่อทีมงาน

Georg Gafron

ติดต่อทีมงาน

นภาจรี จิวะนันทประวัติ

Napajaree Jiwanantaprawat

ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการ

Napajaree.Jiwanantaprawat@kas.de +66 (0) 2 714 1207 +66 2 714 13 07

comment-portlet

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ผู้เผยแพร่แอสเสท