ผู้เผยแพร่แอสเสท

รายงานกิจกรรม

ความครอบคลุมทางสังคม

ความมั่นคงของมนุษย์ในกลุ่มเปราะบาง – ความเสี่ยงและศักยภาพแฝง

กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มผู้พ้นโทษ กลุ่มคุณแม่วัยใส และกลุ่มแรงงานต่างด้าว จัดว่าเป็นกลุ่มประชากรที่เปราะบางมากที่สุดในสังคม ความเปราะบางนั้นมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น การตีตราทางสังคม การขาดโอกาสในการทำงานและการฝึกอบรม การไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ การขาดโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการสร้างรายได้ รวมไปถึงการไม่ได้รับความรู้และความเข้าใจในสิทธิสวัสดิการที่จำเป็นเกี่ยวกับการดำรงชีพ ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือการที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีพลังและศักยภาพมากพอที่จะจัดการกับภาวะความลำบากและขาดแคลนที่เกิดขึ้น

ผู้เผยแพร่แอสเสท

แชร์หน้านี้

สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาสังคมเรื้อรังอันส่งผลให้กลุ่มคนเปราะบางถูกกีดกันและไม่ได้รับความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ไม่ยั่งยืน ขาดรายได้ที่แน่นอน ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขและทรัพยากรอื่น ๆ ได้เท่ากลุ่มคนอื่น

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย จึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยขึ้นเพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาดังกล่าว โดยสรรหาและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางและนโยบายในการกำจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป พร้อมทั้งช่วยเสริมพลังให้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวให้มากขึ้น โครงการดังกล่าวเริ่มต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยนำร่องใน 7 ตำบลของจังหวัดขอนแก่น และแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ

ระยะแรก เป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลความไม่มั่นคงและความเสี่ยงที่กลุ่มผู้เปราะบางต้องเผชิญ รวมทั้งทำความเข้าใจในสถานการณ์ของพวกเขา ส่วนในระยะที่สอง โครงการวิจัยได้มุ่งวิเคราะห์ข้อมูลความไม่มั่นคงของกลุ่มผู้เปราะบางในหลากหลายมิติที่พบเจอในการเก็บข้อมูลระยะแรก และสามารถระบุออกมาได้ว่ามีสามประเด็นด้วยกันที่เป็นประเด็นร่วมของความไม่มั่นคงนั้น ได้แก่ ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและปากท้อง ความไม่มั่นคงทางสุขภาพ และความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ความไม่มั่นคงเหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้เปราะบางต้องพึ่งพาการค้ำจุนดูแลจากสมาชิกในครอบครัวและความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของความไม่มั่นคงที่กลุ่มผู้เปราะบางต้องเผชิญ

ในระยะถัดไปหลังจากนี้ องค์กรภาคีเครือข่ายอันได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาครัฐ และท้องถิ่น จะได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลการลงพื้นที่มาออกแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์ในการช่วยเสริมพลังและสร้างการคุ้มครองทางสังคมให้กับกลุ่มผู้เปราะบางในพื้นที่เป้าหมายต่อไป โดยคาดหวังว่ากิจกรรมนั้นจะได้เพิ่มศักยภาพของกลุ่มผู้เปราะบางในสังคมและช่วยผลักดันให้พวกเขาสามารถออกจากวงจรของความเปราะบางได้อย่างถาวร

คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลที่ได้ สรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และระบุข้อเสนอแนะต่อการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องส่วนหนึ่งไว้ในรูปแบบสารคดีสั้นสองตอนจบ เพื่อที่ทางองค์กรภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา จะได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมและร่วมกันออกแบบนโยบายที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป

Bitte klicken Sie hier, um die Inhalte anzuzeigen.
Oder passen Sie Ihre Cookie-Einstellungen unter Datenschutz an.

ตอนที่ 1

YouTube: College of Local Administration, KKU

Bitte klicken Sie hier, um die Inhalte anzuzeigen.
Oder passen Sie Ihre Cookie-Einstellungen unter Datenschutz an.

ตอนที่ 2

YouTube: College of Local Administration, KKU

ผู้เผยแพร่แอสเสท

ติดต่อทีมงาน

อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล

Orapan Suwanwattanakul

ผู้จัดการโครงการ

Orapan.Suwanwattanakul@kas.de +66 (0) 2 714 1207 +66 2 714 1307

comment-portlet

ผู้เผยแพร่แอสเสท